03 พฤศจิกายน 2550

ดนตรีเพื่อการบำบัด

ดนตรี มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในทุกด้าน เช่น พัฒนาสุขภาพจิต อารมณ์ สังคม และการพัฒนาทาง

ร่างกาย มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับประโยชน์ และความสุขจาการรับรู้ความงามของดนตรี นำคุณค่าของดนตรีมาใช้พัฒนาคุณภาพของชีวิตทางศึกษาด้านดนตรี

คุณภาพของชีวิตการศึกษาทางด้านดนตรี

ประเทศไทย เห็นความสำคัญของดนตรีมากขึ้น

มีการศึกษาการใช้ประโยชน์ของดนตรี เช่น พีระชัย ลี้สมบูรณ์ผล ศึกษาเรื่อง “ดนตรีของคนตาบอดในประเทศไทย : การเขียน และการประกอบอาชีพ” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาศิลป์ศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมการดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ดนตรีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของคนตาบอด เป็นเพื่อนยามเหงา ช่วยลดความเครียด ความกังวล และเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพงานวิจัยของ บำเพ็ญจิต แสงชาติ วิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2528 เรื่อง “การนำดนตรีมาใช้เพื่อลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด” โดยอาศัยแนวทางหลัก1. ดนตรีมีผลต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางลบหรือบวกก็ได้ตามชนิดของดนตรีที่บุคคลนั้นได้สัมผัส ตามนัยยะระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์2. ดนตรี ทำให้บุคคลมีมนุษยสัมพันธ์ และเข้าสู่สังคมได้3. ดนตรีสามารถช่วยให้มีการพัฒนาทางด้านชื่อเสียงเกียรติยศของปัจเจกบุคคล และบรรลุถึงความเชื่อมั่นและเข้าใจตนเอง4. เสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองและประกอบด้วยลีลาจังหวะการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดพลังชีวิต และสามารถปฏิบัติตามได้5. ดนตรีทำให้เกิดสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ มีความละเอียดทางด้านอารมณ์และแนวความคิด6. ดนตรีทำให้คลายความเครียด และลดความกังวลได้ข้อความที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น: