03 พฤศจิกายน 2550

ดนตรีเบำบัด


ดนตรีกับสุขภาพจิตของเยาวชน

พิชัย ปรัชญานุสรณ์ กล่าวถึงดนตรีกับสุขภาพจิตของเยาวชนดังนี้ความหมายของดนตรีที่มีมากมาย สุดแท้แต่เราจะมีแนวความคิดไปทางใด ดนตรีเป็นชีวิต จิตใจของเยาวชน ดนตรีมีความผูกพันกับมนุษย์มาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เริ่มตั้งแต่จังหวะการเต้นของหัวใจของมารดาส่งผ่านทางสายรก และมีผลต่อความรู้สึกได้ของทารกเมื่อคลอดออกมา ทารกจะรับรู้เสียงต่าง ๆ ในรูปแบบมากมาย ทั้งที่เป็นเสียงดนตรีธรรมชาติ คือ เสียงนกร้อง เสียงใบไม้ไหว หรือเสียงดนตรีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมา ตลอดจนเสียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวมากมาย ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิต และสุขภาพกายได้ เช่น เสียงของแตรรถยนต์ เสียงเครื่องยนต์ เครื่องจักรในโรงงาน เป็นต้นทางด้านเสียงมนุษย์ เด็กก็เริ่มรู้จักเสียงของตนเอง และพัฒนาการพูดจากับพ่อแม่เกิดความเข้าใจภาษาพูด ภาษาท่าทาง เพื่อการปรับตัวเข้าสังคม การใช้ภาษานี่เองที่เป็นรากฐานของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะมีต่อไปของเยาวชนคนนั้น ๆเสียงดนตรีและเสียงร้องของมนุษย์ เป็นตัวกระตุ้นชนิดหนึ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงพฤติกรรมได้ เช่นเดียวกับตัวกระตุ้นอื่น ๆ คือ การสัมผัส กลิ่น รูป และรส หากจัดให้เยาวชนอยู่ในที่ที่มีเสียงดังอึกทึกเกินขีดจำกัดที่หูจะทานรับเสียงไว้ได้ เขาจะมีอารมณ์หงุดหงิด และโกรธง่าย แต่ถ้าหากได้อยู่ในที่เงียบตามธรรมชาติ จิตใจเยือกเย็นเยาวชนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเรียน ผู้ปกครองมักจะมุ่งให้ลูกเอาใจใส่วิชาสามัญเท่านั้นส่วนวิชาดนตรีมีน้อยราย ที่เห็นความสำคัญ สัมพันธ์กับชีวิตในอนาคต ทั้งนี้มีสาเหตุสำคัญ คือ ครูในโรงเรียนสามัญจำนวนมาก ขาดความรู้ทางด้านดนตรี หรือไม่อาจสร้างสิ่งแวดล้อมกระตุ้นให้เยาวชนเกิดความซาบซึ้งทางดนตรีชนิดที่เป็นแก่นสารได้ หรืออาจารย์สอนดนตรีที่มีความรู้ ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะสอนเนื้อหาดนตรีให้แก่นักเรียนเป็นพิเศษหากโรงเรียนจัดห้องซ้อมดนตรี จัดสถานที่ให้นักเรียนได้จัดก็ช่วยลดปัญหาชีวิตของเยาวชนโดยจัดกลุ่มวงดนตรี ฝึกทักษะ ความชำนาญทางดนตรีถึงแม้ว่าความหวังที่จะนำดนตรีมาช่วยเหลืองานด้านสุขภาพจิตยังอยู่ในวงจำกัดหากทุกฝ่ายเริ่มมาศึกษาถึงประโยชน์ของดนตรีแล้วนำความรู้มาช่วยเผยแพร่ แนะนำลักษณะของดนตรีที่ดีให้แก่เยาวชน และบุคคลทั่วไป เพื่อใช้ประกอบการลดปัญหาสุขภาพจิตของเยาวชน ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น: