06 พฤศจิกายน 2550

สมาชิกกลุ่มดนตรีค่ะ







สวย สวย ทั้งนั้น เพราะพวกเรามีดนตรีในหัวใจ













แซวเล่น


อ่านถึงไหนกันแล้วค่ะ

04 พฤศจิกายน 2550

ดนตรีกับสุนทรียศาสตร์



ดนตรีกับสุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์ เพิ่งได้รับความนิยมหลังจากที่มีการทบทวนเนื้อหาวิชา และขอบข่ายของการศึกษาตามแนวของวิทยาศาสตร์ เมื่อต้นศตวรรษที่ 18 นี้เอง โดยนักปรัชญาเยอรมันชื่อ อะเล็กซานเดอร์ บวมการ์เตน เลือกคำในภาษากรีกคือคำว่า Aisthesis หมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) มาใช้เป็นชื่อวิชาเกี่ยวกับทฤษฎีแห่งความงาม ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics หรือ Estheticsและในภาษาไทยใช้คำว่า สุนทรียศาสตร์ ซึ่งหมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวการรับรู้ หรือศาสตร์ของการรับรู้ (The Science of Perception)
นอกจากนี้ สุนทรียศาสตร์ ยังหมายถึง
1. วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ของการรับรู้ และเกี่ยวข้องดับความหมาย



Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

2. วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์และคุณลักษณะของความงาม คุณค่าของความงามและรสนิยมอย่างมีหลักการ

Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes


3. วิชาที่ส่งเสริมให้สอบสวน และแสวงหาหลักเกณฑ์ของความงามสากลในลักษณะของรูปธรรมที่เห็นได้ รู้สึกได้ รับรู้ได้ เพื่อชื่นชมได้

Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

4. วิชาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ตรงของบุคคลสร้างพฤติกรรมตามความพอใจ โดยไม่หวังผลตอบแทนในทางปฏิบัติ เป็นความรู้สึกพอใจตามที่เลือกด้วยตนเองและสามารถเผื่อแผ่เสนอแนะผู้อื่นให้มีอารมณ์ร่วมรู้สึกได้ด้วย


Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

5. วิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมตอบสนองของมนุษย์จากสิ่งเร้าภายนอกตามเงื่อนไขของสถานการณ์ เรื่องราวความเชื่อ และผลงานที่มนุษย์สร้าง


Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

ผู้สนใจวิชาสุนทรียศาสตร์ จะต้องสนใจวิชาต่าง ๆ เพิ่มด้วยอีกหลายแขนงประกอบโดยถือวิชาศิลปะเป็นแกนกลาง เช่น วิชาจิตวิทยา สังคมศาสตร์ และนักปรัชญาก็ได้เลือกเอาคำว่า Aesthetics มาใช้ หมายถึงศาสตร์ของการรับรู้ เพราะมีความเห็นว่า การรับรู้จากประสบการณ์ศิลปะ เป็นสื่อทางความรู้อย่างหนึ่งสำหรับผู้แสวงหา ไม่ว่าการรับรู้นั่นจะเกิดจากผลงานที่มนุษย์สร้าง หรือจากธรรมชาติ ก็นับว่าเป็นประโยชน์และมีคุณค่าทั้งสิ้น

ดนตรีเพื่อการบำบัด

Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

ปัจจุบัน

มีการนำดนตรีมาใช้บำบัดโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีผลดียิ่งทั้งโรคทางกาย และจิต

กรีกเป็นชาติแรกที่ใช้พิณดีดรักษาโรคซึมเศร้า ดนตรีบำบัดสามารถใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ดี มีประโยชน์ และมีคุณค่าสูงแต่ต้นทุนต่ำ ใช้ได้ทั้งลดอาการเจ็บปวดจาการคลอดจาการถอนฟัน รักษาคนที่มีความเครียด กังวล ผู้ป่วยทางกาย ทางจิต คนพิการ ผู้มีปัญหาทางอารมณ์

นอกจากนี้ยังใช้กับการพัฒนาการรับรู้ของเด็กทารก เยาวชนใช้พัฒนาการทำงานและสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์ของตนได้การนำดนตรีบำบัดไปใช้เป็นสื่อในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช

ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนักดนตรีบำบัด จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรี และความผิดปกติทางด้านจิตใจ หรือโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตใจเป็นอย่างดี นักดนตรีบำบัดจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย

นักดนตรีบำบัดควรวิเคราะห์ และวินิจฉัยได้ว่า ผู้ป่วยรายใดควรจะใช้ดนตรีบำบัดในรูปแบบใด ควรใช้องค์ประกอบใดของดนตรีในการบำบัดรักษา นอกจากนี้ ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ ได้กล่าวถึงดนตรีเพื่อการบำบัดไว้ดังนี้

นักจิตวิทยา เพื่อว่าดนตรีช่วยพัฒนาการของมนุษย์ได้ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และสามารถใช้ดนตรีแก้ไข ปรับปรุง ข้อบกพร่องทั้งทางกาย และทางอารมณ์ได้ด้วย เช่น การพูดติดอ่าง นิสัยก้าวร้าว ตลอดจนอาการของเด็กประเภท Autistic Child

ผลจากความรู้และการทดลองด้านนี้ ทำให้ดนตรีก้าวเข้าไปมีบทบาททางการแพทย์และจิตเวช โดยใช้ช่วยบำบัดอาการป่วยไข้ทางจิต เสริมการบำบัดรักษาตามวิธีการทางการแพทย์

บทบาทนี้ทำให้เกิดวิชา ดนตรีบำบัด ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเปิดสอนเป็นวิชาเอก สำหรับนักดนตรี และนักศึกษาความจริงเรื่องการใช้ดนตรีบำบัดอาการป่วยไข้ มีมานานแล้ว

ในพระคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า “ดาวิด” เคยดีดพิณบำบัดอาการหงุดหงิดของกษัตริย์ซาอูลผลงานจำนวนมากของนักมานุษยวิทยาก็ช่วยสนับสนุนข้อมูลข้างต้นด้วยว่า

มนุษย์เชื่อในอิทธิพลของดนตรีมานานแล้ว เพราะ พิธีกรรมบำบัด ของชนเผ่าต่าง ๆ ส่วนมากมีดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ข้อที่แตกต่างกันนั้นคือ

ดนตรีบำบัดแผนใหม่ เป็นวิทยาศาสตร์ในขณะที่พิธีกรรมบำบัดเป็นไสยศาสตร์ แต่ข้อที่เหมือนกันคือ ดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรม หรือในคลินิก ก็ตาม จะต้องผ่านการพิจารณาเลือกเฟ้นแล้วว่าเหมาะสมกับผู้ป่วยการที่พ่อมด หรือหมอผี ผู้ประกอบพิธีกรรมบำบัด เป็นทั้งหมอ และสื่อกลางสำหรับติดต่อกับเทพสถานภาพในสังคม

คนเหล่านี้จึงสูงกว่าชาวบ้านทั่วไป ผลที่ติดตามมาคือดนตรีหรือเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมพลอยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปด้วยดนตรีชาวฮินดู เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้ บันไดเสียงหรือ (Raga) แต่ละชนิดจะมี กาละ และเทศะ กำกับไว้อย่างเคร่งครัด ละเมิดไม่ได้

เพราะดนตรีของเขาเป็นของที่ได้รับมาจากสวรรค์ กฎเกณฑ์เหล่านี้ตกทอดมาถึงดนตรีไทยด้วย ดังเช่นที่อยู่ในการใช้เพลงหน้าพาทย์ทั้งหลาย