1. ฟังผ่านหู (Passive Listening) เป็นการฟังที่ไม่ได้ตั้งใจฟัง มักมีกิจกรรมอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น ดนตรีสำหรับพิธีกรรมต่าง ๆ ดนตรีประกอบการแสดง เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศ ผู้ฟังไม่ให้ความสนใจในรายละเอียด หรือติดตามลีลาทำนองเพลงอย่างใกล้ชิด ทำให้ไม่สามารถเข้าใจ หรือรู้สึกกับบทเพลงนั้นได้อย่างแท้จริง 2. ฟังด้วยความรู้สึก (Sensuous Listening) มีความตั้งใจฟังมากขึ้น ผู้ฟังให้ความสนใจกับเสียงร้อง หรือเสียงเครื่องดนตรีมากกว่าลีลา หรือเรื่องราว ความหมายของบทเพลง อาจเป็นเพราะนักร้องมีเสียงที่ดี แปลก หรือเสียงเครื่องดนตรีแปลกใหม่ เป็นที่น่าสนใจ การฟังระดับนี้เป็นเป็นการฟังเสียงที่มากกว่าการฟังที่อารมณ์เพลง แต่ยังไม่สามารถเข้าใจสาระของเพลงเท่าใดนัก 3. ฟังด้วยอารมณ์ (Emotional Listening) เป็นการฟังที่ผู้ฟังต้องการเสพบรรยากาศหรืออารมณ์ของเพลงนั้น ๆ เช่น การฟังเพลงปลุกใจ การฟังในลักษณะนี้ผู้ฟังจะได้บรรยากาศ อารมณ์ หรือเนื้อหามากกว่าสองอย่างที่กล่าวมา แต่ยังขาดการเอาใจใส่ที่จดจ่อต่อรายละเอียดต่าง ๆ การฟังยังฟังแต่สิ่งที่ต้องการฟังเท่านั้น สิ่งอื่น ๆ จึงปล่อยผ่านไป 4. ฟังด้วยอารมณ์ซาบซึ้ง (Perceptive Listening) ผู้ฟังใช้สมาธิในการฟังเป็นอย่างมาก เพื่อจะรับรู้และเข้าใจเพลงนั้นทั้งหมด ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เมื่อได้ยินลีลา จังหวะ ทำนอง ก็จดจำ และใช้สัญชาตญาณทางดนตรีที่มีอยู่ในทุกคน เป็นเครื่องมือช่วยสร้างความเข้าใจในบทเพลงนั้น การฟังระดับนี้ผู้ฟังจะได้รับรสชาติมากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถหยั่งรู้ถึง ลีลา ศิลปะ จินตนาการในการแต่งของผู้ประพันธ์เพลง ศิลปะการบรรเลงของนักดนตรี นับว่าเป็นการฟังในขั้นที่ผู้ฟังสามารถได้รับประโยชน์มากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการจินตนาการของผู้ฟังและความเข้าใจในบทเพลงที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น