ดนตรีกับสุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์ เพิ่งได้รับความนิยมหลังจากที่มีการทบทวนเนื้อหาวิชา และขอบข่ายของการศึกษาตามแนวของวิทยาศาสตร์ เมื่อต้นศตวรรษที่ 18 นี้เอง โดยนักปรัชญาเยอรมันชื่อ อะเล็กซานเดอร์ บวมการ์เตน เลือกคำในภาษากรีกคือคำว่า Aisthesis หมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) มาใช้เป็นชื่อวิชาเกี่ยวกับทฤษฎีแห่งความงาม ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics หรือ Estheticsและในภาษาไทยใช้คำว่า สุนทรียศาสตร์ ซึ่งหมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวการรับรู้ หรือศาสตร์ของการรับรู้ (The Science of Perception)
นอกจากนี้ สุนทรียศาสตร์ ยังหมายถึง
1. วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ของการรับรู้ และเกี่ยวข้องดับความหมาย
2. วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์และคุณลักษณะของความงาม คุณค่าของความงามและรสนิยมอย่างมีหลักการ
3. วิชาที่ส่งเสริมให้สอบสวน และแสวงหาหลักเกณฑ์ของความงามสากลในลักษณะของรูปธรรมที่เห็นได้ รู้สึกได้ รับรู้ได้ เพื่อชื่นชมได้
4. วิชาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ตรงของบุคคลสร้างพฤติกรรมตามความพอใจ โดยไม่หวังผลตอบแทนในทางปฏิบัติ เป็นความรู้สึกพอใจตามที่เลือกด้วยตนเองและสามารถเผื่อแผ่เสนอแนะผู้อื่นให้มีอารมณ์ร่วมรู้สึกได้ด้วย
5. วิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมตอบสนองของมนุษย์จากสิ่งเร้าภายนอกตามเงื่อนไขของสถานการณ์ เรื่องราวความเชื่อ และผลงานที่มนุษย์สร้าง
ผู้สนใจวิชาสุนทรียศาสตร์ จะต้องสนใจวิชาต่าง ๆ เพิ่มด้วยอีกหลายแขนงประกอบโดยถือวิชาศิลปะเป็นแกนกลาง เช่น วิชาจิตวิทยา สังคมศาสตร์ และนักปรัชญาก็ได้เลือกเอาคำว่า Aesthetics มาใช้ หมายถึงศาสตร์ของการรับรู้ เพราะมีความเห็นว่า การรับรู้จากประสบการณ์ศิลปะ เป็นสื่อทางความรู้อย่างหนึ่งสำหรับผู้แสวงหา ไม่ว่าการรับรู้นั่นจะเกิดจากผลงานที่มนุษย์สร้าง หรือจากธรรมชาติ ก็นับว่าเป็นประโยชน์และมีคุณค่าทั้งสิ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น