03 พฤศจิกายน 2550

บทสรุปสุนทรียศาสตร์

Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes


ดนตรีเป็นสื่อสุนทรียศาสตร์
ที่มีความละเอียด ประณีต มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ ทั้งทางกาย และทางจิต เมื่อเราได้ยินเสียงดนตรีที่สงบ ก็จะทำให้จิตสงบ อารมณ์ดี หากได้ยินเสียงเพลงที่ให้ความบันเทิงใจ ก็จะเกิดอารมณ์ที่สดใส ทั้งนี้เพราะดนตรีเป็นสื่อสุนทรียที่สร้างความสุข ความบันเทิงใจให้แก่มนุษย์


Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes


เป็นเครื่องบำบัดความเครียด สร้างสมาธิ กล่อมเกลาจิตใจให้สุขุม เยือกเย็น อารมณ์ดี โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา หรือเสียเงินซื้อหาแต่อย่างใดดนตรีมีคุณค่าต่อมนุษย์มากมาย ดังเช่น เสาวนีย์ สังฆโสภณ กล่าวว่าจากงานวิจัยของต่างประเทศ ทำให้เราทราบว่า ดนตรีมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบกล้ามเนื้อ และสภาพจิตใจ ทำให้สมองหลั่งสารแห่งความสุข
Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ทำให้เกิดสติ ความรู้สึกนึกคิดที่ดี และนำมาใช้ได้ผลในเรื่องการคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล ลดความกลัว บรรเทาอาการเจ็บปวด เพิ่มกำลัง และการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยนิยมใช้ในงานฟื้นฟูสุขภาพคนทั่วไป พัฒนาคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพอการ ผู้ป่วยโรคจิต และเด็กมีความต้องการเป็นพิเศษ เป็นต้นดนตรีเป็นศิลปะที่อาศัยเสียงเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง เป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัส ก่อให้เกิดความสุข ความปิติพอใจแก่มนุษย์ได้
Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

กล่าวว่า ดนตรีเป็นภาษาสากล เพราะเป็นสื่อความรู้สึกของชนทุกชาติได้ ดังนั้น คนที่โชคดีมีประสาทรับฟังเป็นปกติ ก็สามารถหาความสุขจากการฟังดนตรีได้ เมื่อเราได้ฟังเพลงที่มีจังหวะ และทำนองที่ราบเรียบ นุ่มนวล จะทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียด ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราได้ฟังดนตรี ที่เลือกสรรแล้ว จะช่วยทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดี อันมีผลดีต่อสุขภาพร่า กายด้วย ดนตรีจึงเปรียบเสมือน ยารักษาโรค การที่มีเสียงดนตรีรอบบ้าน เปรียบเสมือนมีอาหารและวิตามิน ที่ช่วยทำให้คนเรามีสุขภาพแข็งแรง

Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes


นอกจากนี้ วารสารสกุลไทย (27 ก.ค.2542 หน้า 23) คอลัมน์ “รอบทิศทางในต่างแดน” โดย เอ็กซ์บีเอ็น ตีพิมพ์เรื่อง “การรักษาโรคด้วยดนตรี หรือเสียงเพลง” กล่าวว่า
เด็กชายวัย 4 ขวบ ชื่อ แมททีโอ อยู่ในนิวยอร์ก เป็นเด็กพิการทางสมอง เคลื่อนไหวไปมาไม่คล่องแคล่วเหมือนเด็กอื่น ๆ คิดช้า พูดน้อย ไม่ถูกใจอะไรสักอย่างแม่แต่เรื่องเล็กน้อย ก็หัวเสียอย่างขนานใหญ่ แต่เมื่อใดที่ แมททีโอ ได้พบกับ นายไคลฟ์ รอบบินส์ นักบำบัดรักษาด้วยเครื่องดนตรี ก็จะมีความสุขที่สุด
Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

เมื่อใช้ไม้ตีกลองอย่างสนุกสนาน แมททีโอ ใช้มือข้างหนึ่งจับขอบกลอง ประคองตัว เอามืออีกข้างหนึ่งตีกลอง ตามจังหวะเสียงเพลงที่ นายรอบบินส์ คิดขึ้นมาในขณะนั้น เล่นกลองได้สักพักหนึ่งก็เคลื่อนตัวไปเล่นเปียโน ใช้นิ้วเล็ก ๆ หนึ่งหรือสองนิ้ว กดคีย์เปียโน อย่างสนุกสนาน สามารถเล่นตามจังหวะ ส่งเสียงหัวเราะด้วยความตื่นเต้น ขณะเดียวกัน ก็เรียนรู้การประคองตัวไม่ให้ล้มลง ใช้อวัยวะแขนขาช่วยการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

คนสูงอายุ วัย 79 ปี หายป่วยจากอาการเส้นโลหิตแตกในสมอง เขาฟังเพลงวอลซ์ ของเวียนนา เพื่อช่วยให้เขาเรียนวิธีเดินเหินอย่างคนธรรมดาขึ้นใหม่ สตรีผู้หนึ่งกำลังอยู่ในช่วงปวดท้องจะคลอดบุตร ได้ฟังเพลงพื้นเมืองของ ลีแอน ไรมส์ จากเครื่องสเตอริโอ เพื่อช่วยให้เธอผ่านวิกฤตอันเจ็บปวดรวดร้าว แม้แต่คนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ก็สามารถฟังเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี คลายความเครียดจากงานประจำวัน

Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

การวิจัยเมื่อ พ.ศ.2539 นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยบโคโลราโดเสตท พยายามให้ผู้ป่วยเส้นโลหิตในสมองแตก จำนวน 10 คน ฟังดนตรีกระตุ้นวันละ 30 นาที เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มิได้เข้ารับการบำบัดด้วยดนตรี พวกเขามีความสามารถปรับปรุงการเดิน การเคลื่อนไหวได้มากกว่าเดิมนักวิจัยชาวสก๊อต พบว่า การให้ผู้ป่วยรักษาอาการเส้นโลหิตแตกในสมอง ตามสถาบันบำบัดฟังเพลงคลาสสิก ของโมสาร์ท หรือเมนเดลโซล ทุกวัน จะช่วยให้คนไข้มีอารมณ์แจ่มใสอย่างมาก การทดสอบทางจิตวิทยาแสดงว่า คนไข้ผู้รับการบำบัดด้วยดนตรีทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ จะมีอารมณ์ความรู้สึกซึมเศร้าน้อยลง กระวนกระวายน้อยลง เป็นตัวของตัวเอง และสังคมกับผู้อื่นมากขึ้น ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคความจำเสื่อม และโรคประสาทชนิดอื่น ๆ ก็ได้รับประโยชน์จากการบำบัดด้วยดนตรี หรือเสียงเพลง
Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes

นักบำบัดด้วยดนตรีของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในนครคลีฟแลนด์ ชื่อ ดีฟอเรีย เลน แสดงผลออกมาว่า ดนตรีสามารถส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา เมื่อปี พ.ศ.2538 ของนักวิจัยรัฐหลุยส์เซียนา ระบุว่า ทารกที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อได้ฟังเพลงเด็ก ขับกล่อมในโรงพยาบาล สามารถกลับบ้านได้เร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้ฟังเพลงขับกล่อมดนตรี หรือเสียงเพลง ทำงานอย่างวิเศษเช่นนี้ได้อย่างไร คำตอบคือ ยังไม่มีใครทราบอย่างแท้จริง ดังที่นักบำบัดด้วยดนตรีผู้หนึ่งบอกว่า ยังมีความลึกลับในเรื่องนี้อยู่ แต่ก็มีเงื่อนงำที่บอกเราได้ นักวิจัยทราบกันมานานแล้วว่า การฟังดนตรี หรือเสียงเพลงมีอิทธิพลโดยตรงต่อชีพจร ความดันโลหิต และการเคลื่อนตัวของไฟฟ้าของกล้ามเนื้อของคนเรานักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยา มีความสงสัยในเวลานี้ว่า “บางทีดนตรีจะสามารถช่วยสร้างและเสริมสร้างความเกี่ยวพันในหมู่เซลล์ประสาทในสมองด้านนอก”

Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes


จากที่กล่าวมานี้ เป็นคุณประโยชน์ของดนตรีที่มีต่อมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะกล่าวถึงดนตรีมีผลต่อสภาวะทางร่างกาย แต่ความเป็นจริงแล้ว ดนตรีเป็นเรื่องของ “จิต” แล้วส่งผลดีมาสู่ “กาย” ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไร ที่เรามักจะได้ยินว่า ดนตรีช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ทำให้คนอารมณ์ดี ไม่เครียด คลายปวด ฯลฯ เพราะดนตรีเป็นสื่อสุนทรียะ ที่ถ่ายทอดโดยใช้เสียงดนตรีเป็นสื่อสุดท้ายของการบรรยายเรื่อง “สุนทรียศาสตร์ ทางดนตรี” จึงสรุปเป็นข้อคิดจากการศึกษามนเรื่องของความงามในเสียงดนตรี ผู้เสพ ควรเลือกว่าจะเสพเพียงแค่ “เป็นผู้เสพ” หรือจะเป็น “ผู้ได้รับประโยชน์จากการเสพ” เพราะดนตรีนั้นงามดดยใช้เสียงเป็นสื่อ แต่ขั้นตอนสำคัญในการถ่ายทอดคือ นักดนตรีถ่ายทอดโดยใช้ “จิต” ผู้ฟังรับสื่อโดยใช้ “จิต” เป็นตัวรับรู้รับสัมผัสอารมณ์ต่าง ๆ ผลจากการรับสัมผัสด้วยจิตนั้น เพลงที่สงบ ราบเรียบ จิตก็จะว่าง (สุญญตา) ทำให้จิตขณะนั้นปราศจาก “กิเลส” ผู้ฟังจึงรู้สึกสบายใจ คลายความวิตกกังวล คลายความเศร้า คลายความเจ็บปวด ผู้ฟังเกิดสมาธิ จึงเป็นผลให้สมอง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Skamu.com - The only place for Myspace icons, Orkut avatars, and profile codes
หากผู้ฟังฟังเพลงที่ยั่วยุไปในทางกิเลส จังหวะรุกเร้ามาก จิตก็จะว่าวุ่น ฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ ไม่เป็นผลดีต่อ “กาย”ผู้ที่ศึกษาสื่อสุนทรียะทางดนตรีแล้ว จึงควรใช้ปัญญา เลือกฟัง เลือกใช้ดนตรี ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และครอบครัว ให้ได้ประโยชน์ทั้งทาง “กาย” และ “จิต”

ไม่มีความคิดเห็น: