ดนตรีกับสุขภาพจิตของเยาวชน
พิชัย ปรัชญานุสรณ์ กล่าวถึงดนตรีกับสุขภาพจิตของเยาวชนดังนี้ความหมายของดนตรีที่มีมากมาย สุดแท้แต่เราจะมีแนวความคิดไปทางใด ดนตรีเป็นชีวิต จิตใจของเยาวชน ดนตรีมีความผูกพันกับมนุษย์มาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เริ่มตั้งแต่จังหวะการเต้นของหัวใจของมารดาส่งผ่านทางสายรก และมีผลต่อความรู้สึกได้ของทารกเมื่อคลอดออกมา ทารกจะรับรู้เสียงต่าง ๆ ในรูปแบบมากมาย ทั้งที่เป็นเสียงดนตรีธรรมชาติ คือ เสียงนกร้อง เสียงใบไม้ไหว หรือเสียงดนตรีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมา ตลอดจนเสียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวมากมาย ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิต และสุขภาพกายได้ เช่น เสียงของแตรรถยนต์ เสียงเครื่องยนต์ เครื่องจักรในโรงงาน เป็นต้นทางด้านเสียงมนุษย์ เด็กก็เริ่มรู้จักเสียงของตนเอง และพัฒนาการพูดจากับพ่อแม่เกิดความเข้าใจภาษาพูด ภาษาท่าทาง เพื่อการปรับตัวเข้าสังคม การใช้ภาษานี่เองที่เป็นรากฐานของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะมีต่อไปของเยาวชนคนนั้น ๆเสียงดนตรีและเสียงร้องของมนุษย์ เป็นตัวกระตุ้นชนิดหนึ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงพฤติกรรมได้ เช่นเดียวกับตัวกระตุ้นอื่น ๆ คือ การสัมผัส กลิ่น รูป และรส หากจัดให้เยาวชนอยู่ในที่ที่มีเสียงดังอึกทึกเกินขีดจำกัดที่หูจะทานรับเสียงไว้ได้ เขาจะมีอารมณ์หงุดหงิด และโกรธง่าย แต่ถ้าหากได้อยู่ในที่เงียบตามธรรมชาติ จิตใจเยือกเย็นเยาวชนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเรียน ผู้ปกครองมักจะมุ่งให้ลูกเอาใจใส่วิชาสามัญเท่านั้นส่วนวิชาดนตรีมีน้อยราย ที่เห็นความสำคัญ สัมพันธ์กับชีวิตในอนาคต ทั้งนี้มีสาเหตุสำคัญ คือ ครูในโรงเรียนสามัญจำนวนมาก ขาดความรู้ทางด้านดนตรี หรือไม่อาจสร้างสิ่งแวดล้อมกระตุ้นให้เยาวชนเกิดความซาบซึ้งทางดนตรีชนิดที่เป็นแก่นสารได้ หรืออาจารย์สอนดนตรีที่มีความรู้ ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะสอนเนื้อหาดนตรีให้แก่นักเรียนเป็นพิเศษหากโรงเรียนจัดห้องซ้อมดนตรี จัดสถานที่ให้นักเรียนได้จัดก็ช่วยลดปัญหาชีวิตของเยาวชนโดยจัดกลุ่มวงดนตรี ฝึกทักษะ ความชำนาญทางดนตรีถึงแม้ว่าความหวังที่จะนำดนตรีมาช่วยเหลืองานด้านสุขภาพจิตยังอยู่ในวงจำกัดหากทุกฝ่ายเริ่มมาศึกษาถึงประโยชน์ของดนตรีแล้วนำความรู้มาช่วยเผยแพร่ แนะนำลักษณะของดนตรีที่ดีให้แก่เยาวชน และบุคคลทั่วไป เพื่อใช้ประกอบการลดปัญหาสุขภาพจิตของเยาวชน ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ดนตรีเพื่อการบำบัด
ดนตรี มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในทุกด้าน เช่น พัฒนาสุขภาพจิต อารมณ์ สังคม และการพัฒนาทางร่างกาย มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับประโยชน์ และความสุขจาการรับรู้ความงามของดนตรี นำคุณค่าของดนตรีมาใช้พัฒนาคุณภาพของชีวิตการศึกษาทางด้านดนตรีในประเทศไทย เห็นความสำคัญของดนตรีมากขึ้น มีการศึกษาการใช้ประโยชน์ของดนตรี เช่น พีระชัย ลี้สมบูรณ์ผล ศึกษาเรื่อง “ดนตรีของคนตาบอดในประเทศไทย : การเขียน และการประกอบอาชีพ” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาศิลป์ศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมการดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ดนตรีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของคนตาบอด เป็นเพื่อนยามเหงา ช่วยลดความเครียด ความกังวล และเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพงานวิจัยของ บำเพ็ญจิต แสงชาติ วิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2528 เรื่อง “การนำดนตรีมาใช้เพื่อลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด” โดยอาศัยแนวทางหลัก
1. ดนตรีมีผลต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางลบหรือบวกก็ได้ตามชนิดของดนตรีที่บุคคลนั้นได้สัมผัส ตามนัยยะระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์
2. ดนตรี ทำให้บุคคลมีมนุษยสัมพันธ์ และเข้าสู่สังคมได้
3. ดนตรีสามารถช่วยให้มีการพัฒนาทางด้านชื่อเสียงเกียรติยศของปัจเจกบุคคล และบรรลุถึงความเชื่อมั่นและเข้าใจตนเอง
4. เสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองและประกอบด้วยลีลาจังหวะการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดพลังชีวิต และสามารถปฏิบัติตามได้
5. ดนตรีทำให้เกิดสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ มีความละเอียดทางด้านอารมณ์และแนวความคิด
6. ดนตรีทำให้คลายความเครียด และลดความกังวลได้
ปัจจุบันมีการนำดนตรีมาใช้บำบัดโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีผลดียิ่งทั้งโรคทางกาย และจิตเวช กรีกเป็นชาติแรกที่ใช้พิณดีดรักษาโรคซึมเศร้า ดนตรีบำบัดสามารถใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ดี มีประโยชน์ และมีคุณค่าสูงแต่ต้นทุนต่ำ ใช้ได้ทั้งลดอาการเจ็บปวดจาการคลอดจาการถอนฟัน รักษาคนที่มีความเครียด กังวล ผู้ป่วยทางกาย ทางจิต คนพิการ ผู้มีปัญหาทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังใช้กับการพัฒนาการรับรู้ของเด็กทารก เยาวชนใช้พัฒนาการทำงานและสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์ของตนได้การนำดนตรีบำบัดไปใช้เป็นสื่อในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนักดนตรีบำบัด จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรี และความผิดปกติทางด้านจิตใจ หรือโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตใจเป็นอย่างดี นักดนตรีบำบัดจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยนักดนตรีบำบัดควรวิเคราะห์ และวินิจฉัยได้ว่า ผู้ป่วยรายใดควรจะใช้ดนตรีบำบัดในรูปแบบใด ควรใช้องค์ประกอบใดของดนตรีในการบำบัดรักษา นอกจากนี้ ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ ได้กล่าวถึงดนตรีเพื่อการบำบัดไว้ดังนี้ นักจิตวิทยา เพื่อว่าดนตรีช่วยพัฒนาการของมนุษย์ได้ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และสามารถใช้ดนตรีแก้ไข ปรับปรุง ข้อบกพร่องบาวอย่างทั้งทางกาย และทางอารมณ์ได้ด้วย เช่น การพูดติดอ่าง นิสัยก้าวร้าว ตลอดจนอาการของเด็กประเภท Autistic Child
ผลจากความรู้และการทดลองด้านนี้ ทำให้ดนตรีก้าวเข้าไปมีบทบาททางการแพทย์และจิตเวช โดยใช้ช่วยบำบัดอาการป่วยไข้ทางจิต เสริมการบำบัดรักษาตามวิธีการทางการแพทย์บทบาทนี้ทำให้เกิดวิชา ดนตรีบำบัด (Music Therapy) ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเปิดสอนเป็นวิชาเอก สำหรับนักดนตรี และนักศึกษาความจริงเรื่องการใช้ดนตรีบำบัดอาการป่วยไข้ มีมานานแล้ว ในพระคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า “ดาวิด” เคยดีดพิณบำบัดอาการหงุดหงิดของกษัตริย์ซาอูล
ผลงานจำนวนมากของนักมานุษยวิทยาก็ช่วยสนับสนุนข้อมูลข้างต้นด้วยว่า มนุษย์เชื่อในอิทธิพลของดนตรีมานานแล้ว เพราะ พิธีกรรมบำบัด ของชนเผ่าต่าง ๆ ส่วนมากมีดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ข้อที่แตกต่างกันนั้นคือ ดนตรีบำบัดแผนใหม่ เป็นวิทยาศาสตร์ในขณะที่พิธีกรรมบำบัดเป็นไสยศาสตร์ แต่ข้อที่เหมือนกันคือ ดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรม หรือในคลินิก ก็ตาม จะต้องผ่านการพิจารณาเลือกเฟ้นแล้วว่าเหมาะสมกับผู้ป่วยการที่พ่อมด หรือหมอผี ผู้ประกอบพิธีกรรมบำบัด เป็นทั้งหมอ และสื่อกลางสำหรับติดต่อกับเทพสถานภาพในสังคม คนเหล่านี้จึงสุงกว่าชาวบ้านทั่วไป ผลที่ติดตามมาคือดนตรีหรือเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมพลอยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปด้วยดนตรีชาวฮินดู เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้ บันไดเสียงหรือ (Raga) แต่ละชนิดจะมี กาละ และเทศะ กำกับไว้อย่างเคร่งครัด ละเมิดไม่ได้ เพราะดนตรีของเขาเป็นของที่ได้รับมาจากสวรรค์ กฎเกณฑ์เหล่านี้ตกทอดมาถึงดนตรีไทยด้วย ดังเช่นที่อยู่ในการใช้เพลงหน้าพาทย์ทั้งหลาย
ธรรมชาติของการฟังดนตรี
ดนตรีเป็นศิลปะที่เสียเปรียบศิลปะแขนงอื่น ๆ ตรงที่ดนตรีเป็นเรื่องของการฟัง สื่อกันทางหู ความไพเราะของดนตรี ใช้โสตประสาทในการรับรู้ดนตรีแล้วส่งไปยังจิตสำนึก หรือ จิตใต้สำนึก การพูดหรือการเขียนถึงดนตรีนั้น อาศัยอวัยวะรู้อื่น ๆ เช่น ตา หรือการสัมผัสซึ่งเป็นเพียงส่วนประกอบย่อย ๆ เท่านั้น ไม่สามารถเข้าถึงดนตรีได้ ถ้าปราศจากหู แต่อวัยวะส่วนอื่นจะได้รับผลประโยชน์ เป็นผลพลอยได้จากดนตรีด้วยด้วยเหตุที่หูของคนเราเปิดอยู่ตลอดเวลา หูไม่สามารถเลือกฟังเองได้ จิตต่างหากที่จะทำหน้าที่กลั่นกรองเสียงที่ได้ยินว่า พอใจ หรือไม่พอใจต่อเสียงใด ความพอใจต่อเสียงของจิตที่ได้ยินจากหูเป็นความไพเราะทั้งที่เป็นดนตรีและไม่เป็นดนตรี แต่ความสดใสไพเราะที่เป็นดนตรีนั้นเป็นศิลปะที่อาศัยความสะอาดของจิตเป็นพื้นฐาน ขณะเดียวกัน เสียงที่ไม่ไพเราะจิตจะไม่พอใจ เสียงเหล่านั้นเป็นเสียงสร้างความรำคาญ และความไม่พอใจของจิต ความรำคาญสืบเนื่องมาจากเสียงขาดศิลปะในการปรุงแต่งให้สวดสดงดงาม ขาดคุณสมบัติในการสร้างความเพลิดเพลินอย่างไรก็ตาม พอมีหลักการในการฟังดนตรีอยู่บ้าง ที่สามารถเรียนรู้ด้วยอวัยวะส่วนอื่นที่นอกไปจากหู แต่หลักการเหล่านี้เป็นเพียงแนวทางในการฟังเท่านั้น ความไพเราะจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการฟังจริง ๆ ทางหูโดยตรงเราจะเริ่มต้นฟังดนตรีกันอย่างไร ถ้าเราจะจัดลำดับก่อนหลังในการรับรสความไพเราะโดยอาศัยดุริยางควิทยาแล้ว ก็พอจะจัดลำดับของการฟังได้ดังนี้ คือ ฟังเสียง ฟังจังหวะ ฟังทำนอง ฟังเนื้อร้อง ฟังการเรียบเรียงเสียงประสาน ฟังสีสันแห่งเสียง ฟังรูปแบบของคีตลักษณ์ ฟังอย่างวิเคราะห์ และฟังเพื่อประโยชน์ของชีวิต
โดยทั่วไป การฟังดนตรี เริ่มจากง่ายไปสู่การฟังที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งพอจะจัดเป็นลำดับดังนี้
1. ฟังเสียง (Sound) เสียงที่เกิดขึ้นทุกชนิดจัดอยู่ในกลุ่มนี้ หูจะเรียนรู้เสียงที่ได้ยินจะพอใจ ไม่พอใจ น่าฟัง หรือไม่น่าฟัง เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ เด็กแรกเกิดจะเรียนรู้เรื่องเสียงเด็กจะมีความสนใจต่อเสียงแปลกใหม่ เสียงสามารถสร้างความสนใจ และเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของเด็กได้ เสียงต่าง ๆ ไม่ถูกจัดระบบ เช่น เสียงรถยนต์ เสียงนกร้อง เสียงตีเกาะเคาะไม้ ลมพัด ฟ้าร้อง ฯลฯ หูเราจะทนฟังอยู่ได้ไม่นานก็เกิดความเบื่อหน่าย เพราะความไม่มีศิลปะ ดนตรีประกอบด้วยเสียงต่าง ๆ เหล่านี้แต่ถูกนำมาจัดระบบเป็นศิลปะ มีความไพเราะ
2. ฟังจังหวะ (Rhythm Time) จังหวะเป็นการเอาเสียงมาจัดระบบระเบียบให้สัมพันธ์ คล้องจองกัน ความแปลกหูทำให้น่าฟัง เช่น กลองยาว กรับ โหม่ง ฆ้อง มาเคาะ เป็นจังหวะ ความเร็ว ช้า ให้อารมณ์ความรู้สึกครึกครื้น อับเฉา ชุ่มฉ่ำ เป็นต้น จังหวะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกมาก โดยเฉพาะทางร่างกาย ความตื่นเต้นเร้าใจต่อจังหวะที่ได้ยิน “ฟังแล้วเนื้อเต้น” จังหวะมักถูกนำไปเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในพิธีกรรมต่าง ๆ ทุกกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิต ความรู้สึก ปลุกวิญญาณ ความเป็นชาตินิยม ฯลฯ จังหวะมักจะเร่งเร้าให้ร่างกายแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่งต่อจังหวะที่ได้ยิน จังหวะเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของธรรมชาติ ทุกอย่างมีจังหวะควบคุม การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ความเป็น ความตาย เป็นธรรมชาติที่ประกอบขึ้นด้วยจังหวะ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สัดส่วนของอาหาร สถาปัตยกรรม ความสมดุลของสรรพสิ่ง ภาพวาด ท่าทางที่ร่ายรำ ลีลาของฉันทลักษณ์ แม้แต่ลีลาของชีวิต ล้วนเกี่ยวข้องกับจังหวะทั้งสิ้น
3. ฟังทำนอง (Melody) ทำนองเป็นรูปร่างหนาตาภายนอก เป็นโครงสร้างบอกถึงขอบเขตของความสูงต่ำของเสียง การฮัมเพลง การผิวปาก การร้องเพลงเป็นการนำแนวทางทำนองมาใช้ ทำนองจะให้อารมณ์ชัดเจนกว่าจังหวะ ให้ความรู้สึกลึกลงถึงจิตใจมากกว่าส่วนของจังหวะ ขณะเดียวกันทำนองก็มีจังหวะรวมอยู่ด้วย
4. ฟังเนื้อร้อง (Text) ผู้ฟังจำนวนมากมุ่งฟังดนตรีเพื่อให้รู้เรื่องราวของเพลง เนื้อร้อง สามารถสร้างความประทับใจให้ผู้ฟัง บางครั้งดูเหมือนว่าเนื้อร้องเป็นหัวใจของเพลงด้วยซ้ำไป
5. ฟังการเรียบเรียงเสียงประสาน (Harmony) การเรียบเรียงเสียงประสาน คือการนำเอาเสียงมาจัดระบบ เอาเสียงมาซ้อนกันตามกฎเกณฑ์ของแต่ละยุคแต่ละสมัยที่นิยมกัน เสียงประสานจะเป็นตัวช่วยอุ้มเสียงดนตรีให้มีพลังทางอารมณ์ ช่วยเกื้อหนุนความงามของบทเพลง
6. ฟังสีสันแห่งเสียง (Tone Color) สีสันแห่งเสียงแห่งดนตรีเป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุและรูปแบบของเครื่องดนตรี ทั้งที่เกิดเสียงโดย การดีด สี ตี เป่า หรือการกระทบแบบต่าง ๆ ทำให้เสียงดนตรีมีความแตกต่างกัน
7. ฟังรูปแบบของเพลง (Form) รูปแบบหรือโครงสร้างของเพลง เป็นการฟังดนตรีอย่างภาพรวม เรียนรู้โครงสร้างของบทเพลงว่าเป็นเพลงที่มี 1 ท่อน 2 ท่อน 3 ท่อน หรือ 4 ท่อน รูปแบบของบทเพลงแต่ละบทเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงนั้น ๆ
8. การฟังอย่างวิเคราะห์ (Analysis) การฟังอย่างวิเคราะห์ เป็นการฟังเพื่อหารายละเอียดของผลงานชนิดนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร เป็นการฟังโดยมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ฟังเพื่อวิเคราะห์ว่าเป็นผลงานของใคร สมัยใด ใช้เครื่องดนตรีอะไรบรรเลง แต่งรูปแบบใด การประสานเป็นอย่างไร
9. ฟังเพื่อสุนทรียะ (Aesthetic) การฟังดนตรีเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งเป็นประโยชน์ของชีวิต เป็นการฟังที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ เพราะการฟังประเภทนี้ผู้ฟังจะเลือกเพลงให้เหมาะสมกับตนเอง ผู้ฟังอาจจะมีความพอใจอยู่ในระดับใดระดับหนึ่ง มีความสุขที่จะเลือกฟังในสิ่งที่ตนชอบ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่มีอยู่ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองให้มากที่สุด
ลักษณะของการฟัง
การฟังเพลงสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท
1. ฟังผ่านหู (Passive Listening) เป็นการฟังที่ไม่ได้ตั้งใจฟัง มักมีกิจกรรมอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น ดนตรีสำหรับพิธีกรรมต่าง ๆ ดนตรีประกอบการแสดง เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศ ผู้ฟังไม่ให้ความสนใจในรายละเอียด หรือติดตามลีลาทำนองเพลงอย่างใกล้ชิด ทำให้ไม่สามารถเข้าใจ หรือรู้สึกกับบทเพลงนั้นได้อย่างแท้จริง
2. ฟังด้วยความรู้สึก (Sensuous Listening) มีความตั้งใจฟังมากขึ้น ผู้ฟังให้ความสนใจกับเสียงร้อง หรือเสียงเครื่องดนตรีมากกว่าลีลา หรือเรื่องราว ความหมายของบทเพลง อาจเป็นเพราะนักร้องมีเสียงที่ดี แปลก หรือเสียงเครื่องดนตรีแปลกใหม่ เป็นที่น่าสนใจ การฟังระดับนี้เป็นเป็นการฟังเสียงที่มากกว่าการฟังที่อารมณ์เพลง แต่ยังไม่สามารถเข้าใจสาระของเพลงเท่าใดนัก
3. ฟังด้วยอารมณ์ (Emotional Listening) เป็นการฟังที่ผู้ฟังต้องการเสพบรรยากาศหรืออารมณ์ของเพลงนั้น ๆ เช่น การฟังเพลงปลุกใจ การฟังในลักษณะนี้ผู้ฟังจะได้บรรยากาศ อารมณ์ หรือเนื้อหามากกว่าสองอย่างที่กล่าวมา แต่ยังขาดการเอาใจใส่ที่จดจ่อต่อรายละเอียดต่าง ๆ การฟังยังฟังแต่สิ่งที่ต้องการฟังเท่านั้น สิ่งอื่น ๆ จึงปล่อยผ่านไป
4. ฟังด้วยอารมณ์ซาบซึ้ง (Perceptive Listening) ผู้ฟังใช้สมาธิในการฟังเป็นอย่างมาก เพื่อจะรับรู้และเข้าใจเพลงนั้นทั้งหมด ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เมื่อได้ยินลีลา จังหวะ ทำนอง ก็จดจำ และใช้สัญชาตญาณทางดนตรีที่มีอยู่ในทุกคน เป็นเครื่องมือช่วยสร้างความเข้าใจในบทเพลงนั้น การฟังระดับนี้ผู้ฟังจะได้รับรสชาติมากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถหยั่งรู้ถึง ลีลา ศิลปะ จินตนาการในการแต่งของผู้ประพันธ์เพลง ศิลปะการบรรเลงของนักดนตรี นับว่าเป็นการฟังในขั้นที่ผู้ฟังสามารถได้รับประโยชน์มากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการจินตนาการของผู้ฟังและความเข้าใจในบทเพลงที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
18 ตุลาคม 2550
ความหมายอันถูกต้องของคำว่า “ศิลปะ”
ขอให้ท่านทำความเข้าใจในความมุ่งหมายของการบรรยายนี้ให้ถูกต้อง
เพราะมีความกำกวมบางอย่างที่อาจจะเข้าใจผิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำว่า “ศิลปะ” ในภาษาไทยคำนี้มันกำกวม ไม่ใช้รัดกุม เพราะไม่มีคำรัดกุม อาตมาจึงต้องจำกัดความของคำว่า “ศิลปะ” ให้เป็นที่แน่นอน อย่าให้กำกวมมากเกินไป ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในครั้งก่อน ๆ ว่า “ศิลปะ” นั้น ความหมายสำคัญอยู่ที่ ความงาม แล้วก็ ความเป็นสิ่งที่ต้องใช้ฝีมือ คือ ทำยาก แล้วก็ ให้สำเร็จประโยชน์จนถึงที่สุดในความมุ่งหมายแห่งเรื่องนั้น ๆ คำว่า “ศิลปะบริสุทธิ์” ต้องเป็นอย่างนี้
แต่เดี๋ยวนี้ในภาษาไทย คำว่า “ศิลปะ” เขาไปใช้ในความหมายหลอกหลวงก็ได้ คือ โกงเป็นเพียงศิลปะไม่ใช่ของจริง นี่เพราะภาษามันกำกวม ศิลปะโกง ศิลปะทำปลอม ศิลปะผิดนั้นเป็นศิลปะเทียม หรือจะต้องเรียกว่า “เทียมศิลปะ” ไม่ใช่ศิลปะ มันเป็นของทำขึ้นเพื่อเทียมศิลปะหลอกตาว่างาม ว่ายาก ว่าประณีต ว่ามีประโยชน์
เพราะฉะนั้นขอให้ท่านเอาความหมายให้ถูกต้อง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษมันง่าย เพราะมันจำกัดไว้ชัด คำว่า Art แปลว่า ศิลปะ ที่มีความหมายดี คือ มีความงาม มีความยาก และมีประโยชน์ ถ้าเป็น “ศิลปะเทียม” เขามีคำว่า Artificial ถ้า Arttificial นั่นคือเทียมศิลปะทำเทียมศิลปะ ไม่ใช่ศิลปะ นี้ถ้ามันเป็น ศิลปะสูงสุด ถึงขนาดสูงสุด เขาก็มีคำว่า Artistic ขนาดแห่งความมีศิลปะ คือมันสูงสุดเมื่อเขามีคำใช้จำกัดตายตัวกันอยู่อย่างนั้น มันไม่ปนกัน ภาษาไทยเรา อะไรก็ศิลปะอะไรก็ศิลปะ แล้วเปิดไว้กว้าง คือจริงก็ได้ ปลอมก็ได้ แล้วโดยมากเดี๋ยวนี้คนมักจะมองไปในทางที่ว่ามันเป็นของปลอม คือเทียมศิลปะขอให้เข้าใจเสียใหม่ว่า คำว่า ”ศิลปะ” นี้ไม่ใช่เรื่องหลอกหลวง เรื่องตบตา เรื่องคดโกงเรื่องปลอมเทียม มัน ให้สำเร็จประโยชน์ แต่มันยิ่งไปกว่าธรรมดาคือต้อง งาม ด้วยถ้าตามธรรมดาไม่องการความงามก็ได้ และถ้าเป็นศิลปะจริงมันต้องประณีตละเอียดและ ทำยากยิ่งด้วย เราก็เลยมีปัญหา เช่นว่า จะทำไม้ตัดปิ้งปลา เดี๋ยวก็จะเอากระดาษทรายมาขัด เพื่อให้มันงาม ให้มันเป็นศิลปะ อย่างนี้มันก็บ้า เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่ต้องทำถึงขนาดนั้นถ้าศิลปะที่ทำไม้ตับปิ้งปลาได้ มันก็เป็นศิลปะพออยู่ในตัวแล้วไม่ต้องเอากระดาษทรายมาขัด หรือไม่ต้องเอาน้ำมันทา
ฉะนั้นขอให้ จำกัดขอบเขตแห่งความหมายของคำว่า ศิลปะ ไว้ให้พอดี ๆ หรือว่าเราจะมองกัน ในแง่ธรรมดา ๆ ก็ให้เห็นว่า มันมีความงามชนิดที่ทำความพอใจ ไม่ต้องเป็นไปในทางรูปร่างสีสันอะไรนัก แต่มันทำความพอใจทำความสำเร็จประโยชน์แล้วก็ทำด้วยฝีมือ
เพราะมีความกำกวมบางอย่างที่อาจจะเข้าใจผิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำว่า “ศิลปะ” ในภาษาไทยคำนี้มันกำกวม ไม่ใช้รัดกุม เพราะไม่มีคำรัดกุม อาตมาจึงต้องจำกัดความของคำว่า “ศิลปะ” ให้เป็นที่แน่นอน อย่าให้กำกวมมากเกินไป ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในครั้งก่อน ๆ ว่า “ศิลปะ” นั้น ความหมายสำคัญอยู่ที่ ความงาม แล้วก็ ความเป็นสิ่งที่ต้องใช้ฝีมือ คือ ทำยาก แล้วก็ ให้สำเร็จประโยชน์จนถึงที่สุดในความมุ่งหมายแห่งเรื่องนั้น ๆ คำว่า “ศิลปะบริสุทธิ์” ต้องเป็นอย่างนี้
แต่เดี๋ยวนี้ในภาษาไทย คำว่า “ศิลปะ” เขาไปใช้ในความหมายหลอกหลวงก็ได้ คือ โกงเป็นเพียงศิลปะไม่ใช่ของจริง นี่เพราะภาษามันกำกวม ศิลปะโกง ศิลปะทำปลอม ศิลปะผิดนั้นเป็นศิลปะเทียม หรือจะต้องเรียกว่า “เทียมศิลปะ” ไม่ใช่ศิลปะ มันเป็นของทำขึ้นเพื่อเทียมศิลปะหลอกตาว่างาม ว่ายาก ว่าประณีต ว่ามีประโยชน์
เพราะฉะนั้นขอให้ท่านเอาความหมายให้ถูกต้อง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษมันง่าย เพราะมันจำกัดไว้ชัด คำว่า Art แปลว่า ศิลปะ ที่มีความหมายดี คือ มีความงาม มีความยาก และมีประโยชน์ ถ้าเป็น “ศิลปะเทียม” เขามีคำว่า Artificial ถ้า Arttificial นั่นคือเทียมศิลปะทำเทียมศิลปะ ไม่ใช่ศิลปะ นี้ถ้ามันเป็น ศิลปะสูงสุด ถึงขนาดสูงสุด เขาก็มีคำว่า Artistic ขนาดแห่งความมีศิลปะ คือมันสูงสุดเมื่อเขามีคำใช้จำกัดตายตัวกันอยู่อย่างนั้น มันไม่ปนกัน ภาษาไทยเรา อะไรก็ศิลปะอะไรก็ศิลปะ แล้วเปิดไว้กว้าง คือจริงก็ได้ ปลอมก็ได้ แล้วโดยมากเดี๋ยวนี้คนมักจะมองไปในทางที่ว่ามันเป็นของปลอม คือเทียมศิลปะขอให้เข้าใจเสียใหม่ว่า คำว่า ”ศิลปะ” นี้ไม่ใช่เรื่องหลอกหลวง เรื่องตบตา เรื่องคดโกงเรื่องปลอมเทียม มัน ให้สำเร็จประโยชน์ แต่มันยิ่งไปกว่าธรรมดาคือต้อง งาม ด้วยถ้าตามธรรมดาไม่องการความงามก็ได้ และถ้าเป็นศิลปะจริงมันต้องประณีตละเอียดและ ทำยากยิ่งด้วย เราก็เลยมีปัญหา เช่นว่า จะทำไม้ตัดปิ้งปลา เดี๋ยวก็จะเอากระดาษทรายมาขัด เพื่อให้มันงาม ให้มันเป็นศิลปะ อย่างนี้มันก็บ้า เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่ต้องทำถึงขนาดนั้นถ้าศิลปะที่ทำไม้ตับปิ้งปลาได้ มันก็เป็นศิลปะพออยู่ในตัวแล้วไม่ต้องเอากระดาษทรายมาขัด หรือไม่ต้องเอาน้ำมันทา
ฉะนั้นขอให้ จำกัดขอบเขตแห่งความหมายของคำว่า ศิลปะ ไว้ให้พอดี ๆ หรือว่าเราจะมองกัน ในแง่ธรรมดา ๆ ก็ให้เห็นว่า มันมีความงามชนิดที่ทำความพอใจ ไม่ต้องเป็นไปในทางรูปร่างสีสันอะไรนัก แต่มันทำความพอใจทำความสำเร็จประโยชน์แล้วก็ทำด้วยฝีมือ
ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ
มาจากภาษาสันสกฤต ภาษาบาลีใช้ว่า สิปป แปลว่า มีฝีมือยอดเยี่ยม หมายถึง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงาม น่าฟัง น่าชม ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ศิลปะ หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อความพึงพอใจ และก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกในความงาม ความประสมกลมกลืนกันในความสัมพันธ์อันมีระเบียบแบบแผน อารี สุทธิพันธ์.กล่าวถึงความหมายของศิลปะไว้ ดังนี้....ความหมายของศิลปะ จากความเคยชินที่ว่า ศิลปะ มีอยู่ทั่วไป จนเป็นสาเหตุให้ละเลยที่จะตีความให้เข้าใจตรงกัน เพื่อจะได้สื่อระหว่างกันได้ ดังนั้นเมื่อมีสิ่งใดที่แปลก เราก็มักจะเรียกกันว่า “เป็นศิลปะ” โดยปราศจากการแยกแยะสิ่งที่ได้รับรู้นั้น อย่างไรก็ดี ผู้สนใจศิลปะพยายามแยกแยะความหมายของศิลปะไว้มากมาย เช่น
1. ศิลปะ คือ การสร้างสรรค์ความงาม
2. ศิลปะ คือ การกระทำที่มีระเบียบ มีขั้นตอน
3. ศิลปะ คือ ภาษากลางสากล
4. ศิลปะ คือ การเลียนแบบธรรมชาติ
5. ศิลปะ คือ การแสดงออกทางด้านบุคลิกภาพของบุคคล
6. ศิลปะ คือ การแสดงออกของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม
7. ศิลปะ คือ ผลสะท้อนทางด้านรูปแบบของสังคม
8. ศิลปะ คือ สื่อทางตา ทางหู โดยไม่ต้องใช้ภาษาพูด
มาจากภาษาสันสกฤต ภาษาบาลีใช้ว่า สิปป แปลว่า มีฝีมือยอดเยี่ยม หมายถึง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงาม น่าฟัง น่าชม ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ศิลปะ หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อความพึงพอใจ และก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกในความงาม ความประสมกลมกลืนกันในความสัมพันธ์อันมีระเบียบแบบแผน อารี สุทธิพันธ์.กล่าวถึงความหมายของศิลปะไว้ ดังนี้....ความหมายของศิลปะ จากความเคยชินที่ว่า ศิลปะ มีอยู่ทั่วไป จนเป็นสาเหตุให้ละเลยที่จะตีความให้เข้าใจตรงกัน เพื่อจะได้สื่อระหว่างกันได้ ดังนั้นเมื่อมีสิ่งใดที่แปลก เราก็มักจะเรียกกันว่า “เป็นศิลปะ” โดยปราศจากการแยกแยะสิ่งที่ได้รับรู้นั้น อย่างไรก็ดี ผู้สนใจศิลปะพยายามแยกแยะความหมายของศิลปะไว้มากมาย เช่น
1. ศิลปะ คือ การสร้างสรรค์ความงาม
2. ศิลปะ คือ การกระทำที่มีระเบียบ มีขั้นตอน
3. ศิลปะ คือ ภาษากลางสากล
4. ศิลปะ คือ การเลียนแบบธรรมชาติ
5. ศิลปะ คือ การแสดงออกทางด้านบุคลิกภาพของบุคคล
6. ศิลปะ คือ การแสดงออกของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม
7. ศิลปะ คือ ผลสะท้อนทางด้านรูปแบบของสังคม
8. ศิลปะ คือ สื่อทางตา ทางหู โดยไม่ต้องใช้ภาษาพูด
องค์ประกอบของประสบการณ์สุนทรียะ
เป็นเรื่องเกี่ยวข้องโดยตรงของบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลอาจจะมีประสบการณ์สุนทรียะแตกต่างกันไปตามสภาพของ สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ทั่วไปและประสบการณ์สุนทรียะ อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของประสบการณ์สุนทรียะ ที่บุคคลควรรู้จักแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. สื่อสุนทรียะ ได้แก่ วัตถุ สิ่งของต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่ มนุษย์สร้าง ตลอดจนวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ด้วย ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประสบการณ์สุนทรียะ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่ง เปรียบเสมือนเป็นเหตุที่ส่งให้ผู้รับประสบการณ์สุนทรียะ เกิดความรู้สึก
2. ความรู้สึกสุนทรียะ ความรู้สึกตอบสนองของเราหลังจากได้รับประสบการณ์สุนทรียะแล้ว ซึ่งอาจจะแสดงให้คนอื่นเห็น สังเกตได้ หรือแอบแฝงซ่อนไม่ให้ผู้อื่นเห็นชื่นชมคนเดียว เรื่องความรู้สึกเป็นเรื่องอธิบายได้ยากเพราะเป็นนามธรรม ภาษาที่ใช้เป็นสื่อความรู้สึกจึงใช้คำว่า ใจ เป็นสำคัญ เช่น พอใจ จับใจ กินใจ ซาบซึ้งใจ สะใจประทับใจความคิดรวบยอด ผู้ที่ได้รับความรู้สึกและประสบการณ์ทางสุนทรียะก็สามารถความคิด สรุปว่าสิ่งที่ได้รับมานั้นให้แนวคิดอะไรบ้าง ก่อให้เกิดความสำนึกอย่างไรโดยไม่มีผลสรุปเป็นการตอบแทน
1. สื่อสุนทรียะ ได้แก่ วัตถุ สิ่งของต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่ มนุษย์สร้าง ตลอดจนวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ด้วย ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประสบการณ์สุนทรียะ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่ง เปรียบเสมือนเป็นเหตุที่ส่งให้ผู้รับประสบการณ์สุนทรียะ เกิดความรู้สึก
2. ความรู้สึกสุนทรียะ ความรู้สึกตอบสนองของเราหลังจากได้รับประสบการณ์สุนทรียะแล้ว ซึ่งอาจจะแสดงให้คนอื่นเห็น สังเกตได้ หรือแอบแฝงซ่อนไม่ให้ผู้อื่นเห็นชื่นชมคนเดียว เรื่องความรู้สึกเป็นเรื่องอธิบายได้ยากเพราะเป็นนามธรรม ภาษาที่ใช้เป็นสื่อความรู้สึกจึงใช้คำว่า ใจ เป็นสำคัญ เช่น พอใจ จับใจ กินใจ ซาบซึ้งใจ สะใจประทับใจความคิดรวบยอด ผู้ที่ได้รับความรู้สึกและประสบการณ์ทางสุนทรียะก็สามารถความคิด สรุปว่าสิ่งที่ได้รับมานั้นให้แนวคิดอะไรบ้าง ก่อให้เกิดความสำนึกอย่างไรโดยไม่มีผลสรุปเป็นการตอบแทน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)