1. สื่อสุนทรียะ ได้แก่ วัตถุ สิ่งของต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่ มนุษย์สร้าง ตลอดจนวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ด้วย ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประสบการณ์สุนทรียะ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่ง เปรียบเสมือนเป็นเหตุที่ส่งให้ผู้รับประสบการณ์สุนทรียะ เกิดความรู้สึก 2. ความรู้สึกสุนทรียะ ความรู้สึกตอบสนองของเราหลังจากได้รับประสบการณ์สุนทรียะแล้ว ซึ่งอาจจะแสดงให้คนอื่นเห็น สังเกตได้ หรือแอบแฝงซ่อนไม่ให้ผู้อื่นเห็นชื่นชมคนเดียว เรื่องความรู้สึกเป็นเรื่องอธิบายได้ยากเพราะเป็นนามธรรม ภาษาที่ใช้เป็นสื่อความรู้สึกจึงใช้คำว่า ใจ เป็นสำคัญ เช่น พอใจ จับใจ กินใจ ซาบซึ้งใจ สะใจประทับใจความคิดรวบยอด ผู้ที่ได้รับความรู้สึกและประสบการณ์ทางสุนทรียะก็สามารถความคิด สรุปว่าสิ่งที่ได้รับมานั้นให้แนวคิดอะไรบ้าง ก่อให้เกิดความสำนึกอย่างไรโดยไม่มีผลสรุปเป็นการตอบแทน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น